ประชาสัมพันธ์ทั่วไป

สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ ตั้งอยู่ที่ 88/26 หมู่ 4 ซ.ติวานนท์ 14 ตำบล ตลาดขวัญ อำเภอ เมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

ติดต่อที่เบอร์โทร 0-2965-9186, 0-2965-9189, 0-2591-3569 ต่อหมายเลขภายใน  6705 เพื่อเลื่อนนัดพบแพทย์ ตั้งแต่เวลา 13.00 น.-15.00 น. วันจันทร์ – ศุกร์
กรณีต้องเลื่อนนัด หรือเลื่อนนัดคลินิกฟื้นฟูอื่นๆ กรุณาติดต่อหมายเลขภายในที่ท่านทราบ

บัตรประจำตัวประชาชน

-บัตรคนพิการ (ถ้ามี)
-ประวัติการรักษา (ถ้ามี)
-กรณีคนไข้มีหนังสือส่งตัวให้นำหนังสือส่งตัวมาด้วย
-ประวัติการรักษาหรือใบส่งตัวจากรพ.อื่น ผลการรักษา ผลเลือด หรือภาพเอ็กซเรย์ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

ติดต่องานถ่ายทอด 0-2965-9186, 0-2965-9189, 0-2591-3569 ต่อหมายเลขภายใน 6808

ค่าพบแพทย์คลินิกในเวลา 50 บาท ค่าพบแพทย์คลินิกนอกเวลา 300 บาท
**อัตราค่าบริการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้

ติดต่อได้ที่เบอร์โทร 02-591-4242 , 02-591-5455 ทางเว็บไซต์  www.snmri.go.th

1.เตียงสามัญ วันละ 220 บาท
(เบิกราชการได้ 200 บาท)
2.ห้องพิเศษ (เบิกราชการได้ 1,000 บาท)
Size  S   (ค่าห้อง+ค่าอาหาร)   ราคา  2,000 บาท
Size  M   (ค่าห้อง+ค่าอาหาร)  ราคา  2,500 บาท
Size  L    (ค่าห้อง+ค่าอาหาร)   ราคา 2,800 บาท
3.ค่าอาหารสามัญ วันละ 200 บาท(เบิกราชการได้ 200 บาท)
4.ค่าอาหารพิเศษ วันละ 260 บาท (เบิกราชการได้ 200 บาท)
5.ค่าอาหารทางสายยาง (Feed) วันละ 250 บาท (เบิกราชการได้ 200 บาท)

มีสถานที่จอดรถเพียงพอ หน้าตึกอาคารอำนวยการ และลานจอดด้านหลัง

ผู้ป่วยทีมีอาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น อาการปวด และข้อยึดติด เป็นต้น
-ผู้ป่วยทีมีอาการผิดปกติของระบบประสาท เช่น เส้นเลือดในสมอง ตีบ แตก ตัน ที่ต้องการรับการฟื้นฟูสมรรถภาพ
-เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า
-ผู้ป่วยที่สูญเสียอวัยวะต้องการมาขอรับอุปกรณ์ เช่น แขน ขาเทียม นิ้วมือ เป็นต้น

วันเวลาทำการ และ การลงทะเบียนผู้ป่วย

-คลินิกในเวลา ห้องบัตรเริ่มเปิดเวลา 7.00 น.

-คลินิกนอกเวลา จันทร์-ศุกร์
เริ่มเปิดเวลา 15.30 น.

-คลินิกนอกเวลา เสาร์-อาทิตย์
เริ่มเปิดเวลา 08.00 น.

-ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค.63 ยกเลิกระบบหยิบบัตรคิวที่หน้าห้องบัตร

-โดยจะต้องนัดพบแพทย์ล่วงหน้ากับแผนก OPD ผ่าน 3 ช่องทาง คือ
1. ทางไลน์ (Line ID) : 025915455
2. ทางโทรศัพท์ : 064-979-3198
วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 13.00 น. – 15.00 น.
(ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์)
3. ทางอีเมล (E-mail) : snmri.opd@gmail.com

แนะนำผู้ป่วยโทรติดต่อแผนก OPD

-ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค.63 ยกเลิกระบบหยิบบัตรคิวที่หน้าห้องบัตร

-โดยจะต้องนัดพบแพทย์ล่วงหน้ากับแผนก OPD ผ่าน 3 ช่องทาง คือ
1. ทางไลน์ (Line ID) : 025915455
2. ทางโทรศัพท์ : 064-979-3198
วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 13.00 น. – 15.00 น.
(ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์)
3. ทางอีเมล (E-mail) : snmri.opd@gmail.com

สิทธิสวัสดิการสังคมและประกันสุขภาพ

มาพบแพทย์เพื่อประเมินอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับความพิการ ติดต่อ จันทร์-ศุกร์ ก่อนเวลา 11.00 น. (ยกเว้นวันหยุดราชการ)

สามารถสอบถามเรื่องสิทธิการรักษาเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์

งานสวัสดิการสังคมและประกันสุขภาพ โทร 02-591-4242 , 02-591-5455 ต่อ 8948

สามารถใช้สิทธิได้โดย ต้องมีหนังสือรับรองสิทธิ (หนังสือส่งตัวที่รับผิดชอบค่าใช้จ่าย)
จากโรงพยาบาลต้นสังกัด(เฉพาะคลินิกในเวลาราชการเท่านั้น)

กรณีมีส่วนเกินจากสิทธิ ต้องชำระค่าใช้จ่ายเอง
สามารถสอบถามเรื่องสิทธิการรักษาเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์

งานสวัสดิการสังคมและประกันสุขภาพ โทร 02-591-4242 , 02-591-5455 ต่อ 8948

สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพยท์แห่งชาติ
ร่วมกับ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สามารถอกบัตรประจำตัวคนพิการ
ได้ที่ศูนย์บริการคนพิการแบบเบ็ดเสร็จทุกวันพฤหัสบดี 8:30 – 12:00

เอกสารที่ต้องใช้
1.เอกสารรับรองความพิการ (จากโรงพยาบาลของรัฐ ฉบับจริงเท่านั้น)
ยกเว้นพิการโดยประจักษ์เช่น ขา – แขนขาด
2.บัตรประชาชนตัวจริง+สำเนา1ฉบับ
3.สำเนาทะเบียนบ้าน
4.รูปถ่าย 1 นิ้ว 1 ใบ (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน) กรณีที่คนพิการมาด้วยตนเอง ไม่ต้องเตรียมรูปถ่ายมา

สามารถสอบถามเรื่องสิทธิการรักษาเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์

งานสวัสดิการสังคมและประกันสุขภาพ โทร 02-591-4242 , 02-591-5455 ต่อ 8948

คนพิการที่ใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง)
ให้นำบัตรประจำตัวคนพิการไปติดต่อหน่วยงานสาธารณสุขประจำจังหวัด หรือโรงพยาบาลประจำจังหวัด
เพื่อเปลี่ยนสิทธิการรักษาให้เป็นบัตรทองผู้พิการ จะสามารถเข้ารับบริการพื้นฐานทางการแพทย์
ได้ที่สถานพยาบาลของรัฐทุกแห่ง โดยไม่ต้องมีใบส่งตัว

สามารถสอบถามเรื่องสิทธิการรักษาเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์
งานสวัสดิการสังคมและประกันสุขภาพ โทร 02-591-4242 , 02-591-5455 ต่อ 8948

– ชำระเงินเอง
– หรือ ใช้หนังสือรับรองสิทธิ (หนังสือส่งตัวที่รับผิดชอบค่าใช้จ่าย) จากรพ.ที่ประกันตนไว้
(เงื่อนไขขึ้นอยู่กับรพ.นั้นๆ) กรณีมีส่วนเกิน ต้องชำระค่าใช้จ่ายเอง
– กรณีขอรับอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ
ชำระเงินแล้วนำใบเสร็จ+ใบรับรองแพทย์ไปเบิกเงินคืนกับประกันสังคมได้ ตามระเบียบประกันสังคม
(เหมือนค่าทำฟัน)

– กรณีผู้ป่วยนอกต้องชำระเงินเอง แล้วนำใบเสร็จ+ใบรับรองแพทย์ไปเบิกเงินคืนกับประกันสังคมได้ตาม
ระเบียบประกันสังคม
– กรณีผู้ป่วยใน ชำระเฉพาะส่วนเกิน ตามระเบียบของประกันสังคม
– กรณีขอรับอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ ให้ชำระเงินแล้วไปเบิกกับประกันสังคมตามระเบียบประกันสังคม
(ทั้งประเภทผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยใน)

สามารถสอบถามเรื่องสิทธิการรักษาเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์
งานสวัสดิการสังคมและประกันสุขภาพ โทร 02-591-4242 , 02-591-5455 ต่อ 8948

– ผู้ประกันตนสามารถยื่น เปลี่ยนสิทธิ เป็นผู้ประกันตนคนพิการ ได้ที่สำนักงานประกันสังคมต้นสังกัด
– กรณียังทำงาน ผู้ประกันตน หรือบริษัทยังส่งประกันสังคมเหมือนเดิม ไม่มีผลกระทบอะไร
– สิทธิการรักษาจะเปลี่ยนไปเบิกตามระเบียบ สปสช.(เหมือนสิทธิ ท.74)
ซึ่งจะเข้าได้ทุกสถานพยาบาลของรัฐ รพ.เอกชนจะใช้สิทธิไม่ได้ (ยกเว้นบางรพ.)

 

สามารถสอบถามเรื่องสิทธิการรักษาเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์
งานสวัสดิการสังคมและประกันสุขภาพ โทร 02-591-4242 , 02-591-5455 ต่อ 8948

งานบริการผู้ป่วยนอก และ งานบริการผู้ป่วยใน

ภายหลังที่มีความพิการ 6 เดือน หรือ มีความพิการเป็นที่ประจักษ์จะสามารถออกเอกสารรับรองความพิการได้
จากนั้นเมื่อได้รับ เอกสารที่แพทย์ออกให้สามารถไปจดทะเบียนคนพิการได้เลยค่ะ ที่ศาลากลางจังหวัด ที่คนพิการมีทะเบียนบ้านอยู่
เอกสารที่ใช้คือเอกสารรับรองความพิการ บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน รูปถ่าย 1 นิ้ว 2 ใบ

หากต้องการเข้ารับการฟื้นฟู ญาติต้องนำผู้ป่วยเข้ารับการตรวจประเมิน ตามขั้นตอนการมารับบริการงานบริการผู้ป่วยนอก
โดยแพทย์จะทำการตรวจประเมิน วางแผนการรักษา และหากแพทย์เห็นว่าจำเป็นที่จะต้องรับคนไข้เพื่อเป็นคนไข้ใน
ก็จะนัดให้มาแอดมิดอีกครั้ง เพื่อให้ได้รับการบำบัดกับทีมสหวิชาชีพต่อไป

ถ้าเป็นยาจำเป็นสามารถมาพบแพทย์ขอก่อนได้ ถ้าอยู่ไกลสามารถขอที่รพในที่พำนักของตนเอง
โทรซักถามกับพยาบาลเจ้าของไข้เกี่ยวกับยาได้

ปัสสาวะจะซึมได้ในระยะแรกซึ่งอยู่ในระยะการปรับตัว ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนสายใหญ่ ดูแลล้างอวัยวะให้สะอาด ดูแลสายไม่ให้ดึงรั้ง แสต็บสายทุกครั้ง ใส่แผ่นรองไปก่อน

ได้ถ้ามีอาการเหมือนจะเป็นAD และกระเพาะปัสสาวะตึงจากการคลำหน้าท้อง

ต้องรอตรวจการทำงานกระเพาะปัสสาวะโดยแพทย์ก่อน

เน้นความสะอาดล้างเช้าเย็น ดูแลการดื่มน้ำให้มากกว่า 30000 ซีซี ในกรณีใส่สาย และกรณีสวนด้วยตนเองดื่มน้ำตามเวลา การใช้หลักการสะอาดในการสวนปัสสาวะ ล้างมือและต้มสาย สัปดาห์ละ 2 ครั้ง

ในผู้หญิงถ้าตรวจในเรื่องของมดลูกและฮอร์โมนปกติสามารถมีลูกได้ ในผู้ชาย ถ้าอสุจิแข็งแรงสามารถมีได้ค่ะ เพียงแต่ต้องเรียนรู้ในเรื่องการมีเพศสัมพันธ์

แล้วแต่รอยโรคที่เป็นและอาศัยการฝึกและการฟื้นตัวของสมองค่ะจะไม่สามารถกำหนดระยะเวลาได้

การชำระเงิน

ช่องทางการชำระเงิน

  1. เงินสด
  2. บัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต
  3. สแกนจ่าย QR Code
  4. โอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร

คลินิกกายภาพบำบัด

หลังบาดเจ็บภายใน72 ชั่วโมง ให้ประคบเย็นเพื่อลดการอักเสบ และควรงดการออกกำลังกายไปจนกว่าอาการเจ็บจะลดลง

ให้ผู้ป่วยและญาติใส่หน้ากากอนามัยมาขณะทำกายภาพบำบัดทุกครั้ง​ ขอให้มีญาติ/ผู้ดูแลเพียง1ท่านเท่านั้น​ ล้างมือก่อนและหลังเข้ารับบริการทุกครั้ง

ในกรณีผู้ป่วยที่เป็นไม่เกิน6เดือน​ สามารถทำกายภาพบำบัดได้​ 4-5​ วันต่อสัปดาห์

ผู้ป่วยที่เกิน6เดือนถึง2ปี​ ให้2วันต่อสัปดาห์

ผู้ป่วย​ 2​-5​ ปี​ ให้1วันต่อสัปดาห์

ผู้ป่วย​ 5​ ปีขึ้นไป​ ให้เป็น​ home​ program​ (โปรแกรมกายภาพบำบัดเบื้องต้นที่บ้าน)​

งานฟิตเนสให้บริการทั้งในผู้ป่วยระบบกระดูกและกล้ามเนื้อและผู้ป่วยระบบประสาท โดยเน้นการเพิ่มความแข็งแรง และความทนทานของกล้ามเนื้อ เพื่อลดอาการเจ็บปวดโดยจะต้องไม่อยู่ในระยะอักเสบเฉียบพลัน

การรักษาทางธาราบำบัดเหมาะกับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะอักเสบเฉียบพลัน มีระดับความเจ็บปวดค่อนข้างสูง หรือ ทรงตัวได้ไม่มั่นคง เนื่องจากการรักษาในน้ำจะช่วยลดแรงกระแทกซึ่งส่งผลทำให้เกิดการบาดเจ็บมากขึ้น อีกทั้งยังมีแรงลอยตัวซึ่งทำให้ง่ายต่อ การทรงตัวและยังมีความปลอดภัยในการรักษา ส่วนการรักษาในงานSport clinic & fitness จะเหมาะกับผู้ที่มีระดับความเจ็บปวดค่อนข้างต่ำ สามารถทรงตัวเองได้ อย่างปลอดภัย ซึ่ง การรักษาจะให้น้ำหนักในการออกกำลังกายที่ค่อนข้างมาก และใกล้เคียงต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น

เปิดให้บริการ เฉพาะในเวลาราชการ จันทร์ถึงศุกร์
มี 5 รอบบริการ คือ 9.00 น. ,10.00 น., 11.00 น. , 13.00 น. และ 14.00

ปัจจุบันเปิดให้บริการเฉพาะผู้ป่วยที่มีรอยโรคและได้รับการคำสั่งการรักษาจากแพทย์เท่านั้น

ผู้ป่วยโรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท ผู้ป่วยเด็ก ผู้สูงอายุ

มีไข้สูง
มีแผลเปิด
มีโรคติดต่อทางผิวหนัง
มีอาการโรคลมชัก โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ที่ควบคุมไม่ได้
มีภาวะหัวใจล้มเหลว
ติดเชื้อทางระบบทางเดินปัสสาวะ
มีอาการท้องเสีย ท้องร่วง
มีโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ
มีความผิดปกติในการควบคุมระบบขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ

ให้บริการ 5 รอบบริการ ในเวลาราชการ จันทร์ – ศุกร์ ดังนี้

รอบ 9.00 น.
รอบ 10.00 น.
รอบ 11.00 น.
รอบ 13.00 น.
รอบ 14.00 น.

และ คลินิกนอกเวลาราชการ จันทร์ – เสาร์ ดังนี้
จันทร์ –ศุกร์ 3 รอบเวลา ได้แก่ รอบ 16.00 น. , 17.00 น. และ 18.00 น.
เสาร์ 3 รอบเวลา ได้แก่ รอบ 9.00น. , 10.00 น. และ 11.00 น.

ค่าบริการ ในเวลาครั้งละ 1,200 และ นอกเวลาราชการ ครั้งละ 1,800 บาท

ผู้รับบริการต้องเตรียมชุดว่ายน้ำแบบสุภาพ สวมหมวกว่ายน้ำ โดยผู้ชายให้สวมเสื้อกีฬาด้วย

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ไขสันหลังบาดเจ็บ เด็กสมองพิการ ที่มีปัญหาเรื่องการเดิน ที่เริ่มฝึกยืนหรือเดิน

ใช้หลักการ motor re-learning ให้สมองเกิดการเรียนรู้ซ้ำๆในรูปแบบการเดินที่ถูกต้อง

ในเวลาราชการ ครั้งละ 2,500 บาท

นอกเวลาราชการ ครั้งละ 3,000 บาท

(*กรณีผู้ป่วยใช้สิทธิ์ข้าราชการ เบิกได้เต็มจำนวน ไม่มีส่วนต่าง
*สิทธิ์ประกันสังคม พิจารณาตามข้อตกลงของรพ.ต้นสังกัด
*สิทธิ์อื่นๆ ชำระเงินเอง)

คลินิกกายอุปกรณ์ PO

  • เมื่อผู้ป่วยเข้ารับบริการที่คลินิกเท้าจะมีขั้นตอนการให้บริการดังนี้
    1. ตรวจประเมินโดยแพทย์
    2. ตรวจประเมินโดยนักกายภาพบำบัด
    3. ตรวจประเมินและสแกนฝ่าเท้าโดยนักกายอุปกรณ์
    4. เก็บแบบฝ่าเท้าเพื่อนำมาใช้ทำหุ่นสำหรับทำแผ่นเสริมรองเท้า
    5. รับใบนัดครั้งต่อไปเพื่อมารับแผ่นเสริมรองเท้าประมาน 5-7 วันทำการ
    6. ผู้ป่วยทดลองใช้แผ่นเสริมรองเท้าและรับคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลเท้าและแผ่นเสริมรองเท้า
    7. นัดติดตามอาการหลังจากทดลองใช้แผ่นเสริมรองเท้าประมาณ 1 เดือน
  • ในขั้นตอนที่ 1-5 จะเสร็จสิ้นภายใน 1 วัน
  • วิธีการเลือกซื้อรองเท้าที่เหมาะสม
  1. ควรเลือกซื้อรองเท้าเบอร์ที่พอดีกับเท้า และต้องเป็นรองเท้าที่สามารถถอดแผ่นเสริมที่มากับรองเท้าได้
  2. หลีกเลี่ยงรองเท้าส้นสูง
  3. ควรเลือกซื้อรองเท้าที่มีหน้าเท้ากว้าง
  4. ควรเลือกซื้อรองเท้าในขณะที่เท้าขยายสุด (เวลาเย็น)
  • เช็ดทำความสะอาดแผ่นเสริมรองเท้าอย่างสม่ำเสมอโดยใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดให้สะอาดแล้วนำไปผึ่งในที่ร่ม
  • ห้ามตากแดดเพราะจะทำให้แผ่นเสริมรองเท้าผิดรูปได้

ห้ามแช่น้ำทิ้งไว้เพราะอาจทำให้กาวหลุดร่อนได้

  • หลังจากที่ได้รับแผ่นเสริมรองเท้า จะมีอายุการใช้งานประมาน 1-2 ปี ขึ้นอยู่กับ น้ำหนักตัว กิจกรรมที่ทำและการดูแลรักษา
  • คำแนะนำสำหรับผู้ใช้แผ่นเสริมรองเท้า
    1. เริ่มใส่ครั้งแรก ครั้งละ 1-2 ชั่วโมง ห้ามใส่เล่นกีฬาในวันแรกที่เริ่มใช้
    2. ค่อยๆเพิ่มระยะเวลาที่ใส่ครั้งละ 1 ชั่วโมง เช่น วันแรกใส่ 1 ชั่วโมง วันที่ 2 ใส่ 2 ชั่วโมง
    3. หลังจากใส่ครบ 3 สัปดาห์แล้วให้ใส่ต่อเนื่องทั้งวันได้
    4. หากจะใส่เล่นกีฬาให้เริ่มใส่ครั้งละ 15 นาทีก่อนแล้วจึงค่อยๆเพิ่มระยะเวลา
    5. หยุดใช้แผ่นเสริมรองเท้าหากมีอาการปกติ ให้ติดต่อนักกายอุปกรณ์ทันที
  • ควรติดต่อกลับมาที่คลินิกเท้า งานกายอุปกรณ์ โทร 0-2591-5455 หรือ 0-2591-3748 ต่อ 6774

ตามระบบการมห้บริการในคลินิคกายอุปกรณ์ จะมีการหล่อแบบทุกๆวันจันทร์เพื่อการรันตรีว่าอุปกรณ์จะเสร็จทันใน 7 วันทำการ โดยสหวิชาชีพ รันตามคิว

ขาเทียมจะได้หลังจาวันที่หล่อแบบ 7 วันทำการ เช่น หล่อแบบวันจันทร์ จะได้รับขาเทียมวันพุธในสัปดาห์ถัดไป

พิจารณาตามสิทธิ์การรักษาของผู้ป่วย ดังนี้
1. สิทธิ์บัตรคนพิการ ไม่เสียค่าใช้จ่าย
2. ประกันสังคม แบ่งเป็น
2.1 มีใบส่งตัว ไม่เสียค่าใช้จ่าย
2.2 ไม่มีใบส่งตัว ไม่มีใบสั่งตัว ต้องสำรองจ่ายและนำใบเสร็จไปเบิก
3. สิทธิ์ข้าราชการ เบิกจ่ายตรง

งานซิลิโคนสามารถทำได้เป็นนิ้วมือเทียม นิ้วเท้าเทียม ถุงมือเทียม และถุงเท้าเทียม เป็นแบบใส่เพื่อความสวยงาม ไม่สามารถขยับได้ โดยผลิตจากซิลิโคนเกรดทางการแพทย์

มีอายุการใช้งานในเบื้องต้นอยู่ที่ 1-2 ปี หากดูแลรักษาและใช้งานด้วยความระมัดระวังสามารถยืดอายุการใช้งานได้มากกว่า 2 ปี

สามารถเข้ามาทำได้หลังจากอาการยุบบวมของตออวัยวะลดลงหรือไม่มีอาการยุบบวมแล้ว โดยประมาณจะอยู่ที่ 5-6 เดือนหลังจากการผ่าตัด โดยก่อนเข้ามาแนะนำให้โทรเข้ามาเพื่อจองคิวในการทำอุปกรณ์เทียมซิลิโคน

สามารถทำได้ค่ะ ขึ้นอยู่กับลักษณะของตออวัยวะ โดยจะต้องเข้ามาเพื่อประเมินเป็นรายบุคคล

ควรหลีกเลี่ยงของมีคมทุกชนิด รวมทั้งน้ำมันและ สารเคมีกัดกร่อนเช่น ผงซักฟอกหรือน้ำยาที่มีฤทธิ์กัดกร่อน

ก่อนการใช้งานแนะนำให้ทาครีมทามือชนิดไม่มีน้ำหอมเพื่อช่วยให้สามารถใส่ได้ง่าย และหลังจากใช้งานแนะนำให้ถอดออกแล้วล้างด้วยน้ำสบู่อ่อนๆ 1 ครั้ง จากนั้นล้างด้วยน้ำเปล่าแล้วเช็ดให้แห้ง ไม่จำเป็นต้องใช้ไดร์เป่าผม สามารถผึ่งลมไว้และเก็บเข้ากล่องหลังจากแห้งแล้วเพื่อป้องกันสัตว์กัดแทะ

ตัวอุปกรณ์เทียมซิลิโคนสามารถโดนความร้อนได้แต่ควรระวัง เนื่องจากซิลิโคนสามารถกักเก็บความร้อนไว้ในตัวเอง และอาจทำให้นิ้วหรือมือของคนไข้สามารถเกิดอาการพุพองได้ รวมถึงไม่แนะนำให้ใส่ลงน้ำเนื่องจากหากน้ำเข้าไประหว่างนิ้วเทียมและตออวัยวะของคนไข้จะทำให้อุปกรณ์เทียมซิลิโคนหลุดและหายได้

การทำอุปกรณ์เทียมซิลิโคนมี 3 ขั้นตอน คือ
1) หล่อแบบ
2) ทดลองสวม
3) นัดติดตามอาการ
โดยจะใช้เวลาในการทำหลังจากหล่อแบบประมาณ 7 วันคนไข้จะได้อุปกรณ์เทียมกลับไปใช้งาน

ราคาอยู่ที่นิ้วละ 7,000 บาท ในกรณีที่เป็นถุงมือเทียมหรือถุงเท้าเทียมราคาอยู่ที่ 35,000 บาทต่อข้างแต่หากตัดเพียงบางนิ้วจะคิดราคาตามจำนวนนิ้ว และไม่สามารถใช้สิทธิใดๆในการเบิกได้ เนื่องจากเป็นการทำเพื่อความสวยงาม

ภาวะขาสั้นยาวไม่เท่ากัน (Leg Length discrepancy) ทั้งเกิดโดยกำเนิดและภายหลัง อาจเกิดจากอุบัติเหตุหรือจากโรค ทำให้เกิดความยาวของขาไม่เท่ากันนั้นความยาวของฝ่าเท้าต่างกันไม่มาก ไม่มีการผิดรูปของเท้า  คนไข้สามารถสวมใส่รองเท้าที่มีขายทั่วไปตามร้านหรือท้องตลาดได้ ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการตัดรองเท้าเฉพาะทาง

โดยคนไข้สามารถเลือกรองเท้าที่สวมใส่เป็นประจำหรือสวมใส่สบาย นำมารับบริการ การเสริมความสูงรองเท้า ได้ที่หน่วยงานกายอุปกรณ์ค่ะ  (Shoes Modify) มีหลักในการเลือกรองเท้ามารับบริการ การดัดแปลง ดังต่อไปนี้

  • ควรเป็นรองเท้าที่คนไข้เคยสวมใส่ หรือทดลองสวมใส่แล้ว พอดีเท้า สวมใส่สบาย ไม่หลวมหรือคับเกินไป

เป็นรองท้าที่สามารถรัดกระชับฝ่าเท้าได้ เช่นมี รองเท้าผ้าไบ สายรัดบริเวนส้นเท้า หลังเท้า

การเข้ารับบริการตัดรองเท้าเฉพาะทางด้านกายอุปกรณ์นั้น จะมีการพิจารณาตามอาการของคนไข้และข้อบ่งชี้ของการตัดรองเท้าคนพิการ ซึ่งสามารถพิจารณาตามวัตถุประสงค์ของรองเท้าตัดดังนี้
1) เพื่อดัดแก้ไขการผิดรูปของฝ่าเท่า เช่น เท้าปุก
2) เท้าผิดรูปจนไม่สามารถสวมใส่รองเท้าที่มีขายทั่วไปได้ โดยอาจมีโรคอื่นๆร่วมด้วย เช่นเท้าเบาหวาน, เท้าปุกที่ผิดรูปชนิดยึดติด

ทุกสิทธิ์การรักษาสามารถเข้ารับบริการได้ โดย สิทธิ์คนพิการ (ท74) และ สิทธิ์จ่ายตรงกรมบัญชีกลาง ไม่เสียค่าอุปกรณ์, สิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (UC) หรือคนทั่วไปมักเรียก สิทธิ์30บาท สิทธิ์บัตรทอง เสียค่าอุปกรณ์เบิกคืนไม่ได้, สิทธิ์ประกันสังคม เสียค่าอุปกรณ์ โดยสามารถเบิกคืนได้

คนไข้เบาหวานที่มีภาวะเท้าเบาหวานสามารถเข้ารับบริการรองเท้าได้ ทั้งเท้าที่ผิดรูปและไม่ผิดรูป เนื่องจากมีความเสี่ยงที่เท้าอาจเกิดแผลหรือผิดรูปได้ โดยได้รับบริการแผ่นรองฝ่าเท้าร่วมด้วย

รองเท้าสำหรับเท้าเบาหวาน สามารถเข้ารับบริการได้ทุกสิทธิ์การรักษาโดย สิทธิ์ คนพิการและ จ่ายตรง ไม่เสียค่าอุปกรณ์ ตามเกณฑ์, สิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้า ต้องมีหนังสือส่งตัวจากสถานพยาบาลต้นสังกัด จึงไม่เสียค่าอุปกรณ์, สิทธิ์ประกันสังคมทุกกรณี ต้องชำระค่าอุปกรณ์ และเบิกคืนได้ หลักเกณฑ์ตามสำนักงานประกันสังคมกำหนดค่ะ

ตามสิทธิ์การเข้ารับอุปกรณ์รองเท้าคนพิการ 1 คู่ ต่อ 1 ปี นับจากวันที่ได้รับการประเมินตัดรองเท้า
หากต้องการตัดรองเท้าเพิ่ม อายุการรับบริการยังไม่ครบ 1 ปี สามารถทำได้ โดยคนไข้ชำระค่าอุปกรณ์เอง

คลินิกเดย์แคร์ Daycare

เดย์แคร์ให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพแบบเช้าไป –เย็นกลับ ให้บริการกายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัดและกิจกรรมกลุ่มทักษะสังคม

เปิดให้บริการวันจันทร์ – วันศุกร์

เวลา 08.30 – 16.30น.

ยกเว้นวันหยุดราชการ

การมารับบริการเดย์แคร์ ต้องมีญาติ หรือผู้ดูแลมาด้วย อย่างน้อย  1 คน เพื่อให้ญาติช่วยเหลือในการฝึก และสามารถนำกิจกรรมการกลับไปฝึกที่บ้านได้

งานเดย์แคร์ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นหน่วยงานให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพแบบเช้าไป-เย็นกลับ มุ่งเน้นให้ผู้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยตนเอง กิจกรรมประจำวันของหน่วยงานได้แก่ กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด กิจกรรมกลุ่มทักษะสังคม จึงไม่มีบริการรับฝากผู้สูงอายุดูแลช่วงกลางวัน

ค่ารับบริการเดย์แคร์ 600 บาท

ไม่สามารถมารับบริการได้ ต้องพบแพทย์เพื่อประเมินอาการก่อนมารับบริการใหม่อีกครั้ง

ไม่สามารถมารับบริการได้ ต้องพบแพทย์เพื่อประเมินอาการก่อนมารับบริการใหม่อีกครั้ง

ดูแลเรื่องการทำความสะอาดผิวกาย, สุขภาพช่องปาก, การรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับวัย, กระตุ้นผู้สูงอายุให้ทำกิจกรรมด้วยตนเองเช่นการสวมใส่เสื้อผ้า เป็นต้น

การยืดกล้ามเนื้อ , การออกกำลังกายเพื่อคงสภาพการเคลื่อนไหวของข้อต่อต่างๆ เช่น ข้อไหล่ ข้อเข่า และ ข้อสะโพก

การให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่ผู้ป่วยสนใจ กระตุ้นและฟื้นฟูความจำในอดีต ที่เกี่ยวข้องกับ วัน เวลา สถานที่ ตัวบุคคล

คลินิกฟื้นฟูสมรรถภาพเด็ก

เปิดบริการ 5 วัน ได้แก่ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.30 – 15.00 น. ยกเว้นวันอังคาร 8.30 – 12.00 น.

ใช้เวลาฝึก 40 นาทีต่อคน แบ่งออกเป็นรอบเวลาเช้า 5 รอบเวลา, บ่าย 2 รอบเวลา

กิจกรรมบำบัด เปิดให้บริการวันพฤหัสบดี – เสาร์ เวลา 8.30 – 12.00 น.

กายภาพบำบัด เปิดให้บริการวันศุกร์ เวลา 16.00 – 19.00 น. และวันเสาร์ เวลา 8.30 – 12.00 น.

วันอังคาร, พุธ , พฤหัสบดี เวลา 8.30 – 12.00 น.

เด็กกลุ่มโรคสมองพิการ (Cerebral palsy), เด็กกลุ่มโรคทางพันธุกรรม, เด็กกลุ่มเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม, เด็กกลุ่มที่มีพัฒนาการล่าช้า, เด็กที่มีการบาดเจ็บของสมอง

สิทธิรักษาผู้พิการ ท.74, สิทธิเบิกจ่ายตรง, สิทธิรัฐวิสาหกิจและชำระเงินเอง

แจ้งเจ้าหน้าที่ ณ งานฟื้นฟูสมรรถภาพเด็ก เพื่อออกบัตรใหม่

ศูนย์สาธิตอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ

คนพิการต้องมาพบแพทย์ที่งานบริการผู้ป่วยนอกเพื่อประเมินและพิจารณาอุปกรณ์ที่เหมาะสม

การพิจารณารถนั่งคนพิการจำเป็นต้องประเมินสภาพร่างกาย และวัดขนาดร่างกาย เพื่อเลือกรถนั่ง

คนพิการที่เหมาะสม รวมทั้งต้องลองและฝึกการใช้งานอุปกรณ์  จึงจำเป็นต้องให้แพทย์ได้ตรวจร่างกาย

คนพิการก่อนพิจารณาอุปกรณ์ และคนพิการควรได้ลองอุปกรณ์ก่อนเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมด้วยตัวเอง

ต้องนำบัตรคนพิการ และบัตรประชาชนมาด้วยทุกครั้ง เพื่อทำแฟ้มประวัติและตรวจสอบสิทธิการ

เบิกอุปกรณ์

รถนั่งคนพิการและอุปกรณ์ช่วยเดิน รายการทั่วไป สามารถเบิกได้ตามสิทธิการรักษาของแต่

ละคน ผู้รับบริการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย  ยกเว้น สิทธิประกันสังคม/ประกันสังคมทุพพลภาพ ต้องสำรองจ่าย

ค่าบริการทางการแพทย์และค่าอุปกรณ์บางรายการ แล้วนำใบเสร็จไปเบิกตามสิทธิประกันสังคม

รถนั่งคนพิการมีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 3 ปี เมื่อเกิน 3 ปีแล้วหากพบว่าสภาพชำรุดมากแล้ว สามารถ

ปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาเบิกคันใหม่ได้

กรณีได้รับรถนั่งคนพิการจากสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ และอยู่ในอายุการใช้งาน 3 ปี สามารถมาซ่อมได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย   หากเป็นรถนั่งคนพิการที่ไม่ได้รับจากสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ อาจต้องเสียค่าอะไหล่ในการซ่อมแซม

ให้ญาติหรือผู้ดูแลนำรถนั่งคนพิการมาซ่อมแทนได้ แต่ต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนและบัตรประจำตัวคนพิการมาด้วยเพื่อเบิกแฟ้มประวัติและเข้ารับบริการซ่อมอุปกรณ์ตามขั้นตอน

ดนตรีบำบัด

ติดต่องานบริการผู้ป่วยนอกหรืองานฟื้นฟูสมรรถภาพเด็ก เพื่อนัดหมายพบแพทย์ จากนั้นนำใบสั่งการรักษาพร้อมผู้ป่วยมารับการประเมินและนัดวันเวลาฝึกที่งานดนตรีบำบัด

ติดต่องานบริการผู้ป่วยนอกหรืองานฟื้นฟูสมรรถภาพเด็ก เพื่อนัดหมายพบแพทย์ จากนั้นมาขอวันเวลานัดหมายใหม่ได้ที่หน่วยงานดนตรีบำบัด หรือนัดหมายทางโทรศัพท์ได้ที่ โทร 025914242 ต่อ 6821 ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องนำผู้ป่วยมาด้วย

  1. ไม่มีเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย
  2. ไม่ใส่ T-tube
  3. ไม่มีโรคหรืออาการที่ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  4. สามารถสวมหน้ากากอนามัย และ face shield ได้ตลอดช่วงระยะเวลาการฝึก

ผู้ป่วยที่ไม่ผ่านเกณฑ์ฯ ไม่สามารถมารับบริการโดยตรงที่หน่วยงานได้เนื่องจากอาจมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ แต่ผู้ป่วยสามารถรับโปรแกรมไปฝึกเองได้ที่บ้าน และ/หรือ รับบริการดนตรีบำบัดทางไกลแบบ Video call ผ่านทาง Line application ได้ โดยสามารถสอบถามขั้นตอน และนัดหมายวันเวลาได้จากเจ้าหน้าที่ของงานดนตรีบำบัด

คลินิกแก้ไขการพูด

ควรใส่แมสเข้าฝึก และอนุญาตให้ญาติเข้าได้ 1 คน เพื่อลดความแออัดและการแพร่กระจายเชื้อ